ก่อนที่เราจะทำการยื่นภาษีออนไลน์ เราก็ต้องมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันก่อน เพื่อให้รู้ว่าสุดท้ายแล้วภาษีที่ต้องจ่ายคือเท่าไหร่ โดยวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีวิธีการคำนวณ 2 วิธีที่ต้องใช้ควบคู่กัน ได้แก่
สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ เงินได้ ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้ คือ รายได้ต่อปีทั้งหมดจากงานประจำและงานเสริม โดยแบ่งออกเป็น 8 ประเภท สรุปคร่าว ๆ ดังนี้
ค่าใช้จ่าย คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้
ค่าลดหย่อน คือ รายการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ประจำปีนั้น ๆ
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีแบบขั้นบันไดในอัตราสูงสุด 35% โดยจะเพิ่มขึ้นตาม เงินได้สุทธิ ของผู้เสียภาษี ซึ่งอัตราภาษีปัจจุบันดูได้จากตารางต่อไปนี้
เมื่อเราเตรียมข้อมูลไว้ครบแล้ว ก็มาถึงวิธีการคำนวณกัน โดยวิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ทำได้ดังนี้
เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
จากนั้น
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
ตัวอย่าง
เงินได้ : รายได้จากเงินเดือนทั้งปีรวมกัน 300,000 บาท
เนื่องจากเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 จึงหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าใช้จ่าย : 100,000 บาท
ค่าลดหย่อน สมมติว่ามีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท (750x12)
ดังนั้น เงินได้สุทธิ = 300,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000
= 131,000
เมื่อเทียบตามตารางอัตราภาษีแล้วจะเห็นว่า เงินได้สุทธิ 131,000 จะได้รับการยกเว้นภาษี จึงไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
วิธีที่ 2 นี้จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อมีเงินได้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป โดยมีวิิธีคิดดังนี้
เงินได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.5% = ค่าภาษี
หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีค่าภาษีไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้
เมื่อคำนวณ 2 วิธีแล้ว วิธีไหนคำนวณได้ภาษีมากกว่าให้นำมาเสียภาษีตามวิธีนั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีที่ 1 จะคำนวณออกมาได้มากกว่าเสมอ
จะได้เห็นว่าการคำนวณภาษีนั้นไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนเท่าไหร่ เพียงแค่ศึกษารายละเอียดเงื่อนไขและเตรียมเอกสารให้พร้อม ก็สามารถคำนวณภาษีกันได้เลย หากคำนวณและยื่นภาษีออนไลน์แล้วพบว่ามีภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม สามารถเลือกชำระภาษีผ่าน 4 ช่องทางตามบทความต่อไปนี้ได้เลย >> 4 รูปแบบการชำระภาษี ที่ผู้เสียภาษีควรรู้